-->

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การปลูกแตงกวา


อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการงอกของเมล็ดระหว่าง 25-30 องศาเซลเซียส สามารถเจริญเติบโตได้ผลดีระหว่างอุณหภูมิ 20-30 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางวัน 22-28 องศาเซลเซียส แตงกวาจะชะงักการเจริญเติบโต สำหรับอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการผสมเกสรนั้นอยู่ระหว่าง 17-25 องศาเซลเซียส

แตงกวาเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้ โครงสร้างของดินที่ปลูกแตงกวาควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี ควรมีความเป็นกรด ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ในสภาพดินที่เป็นดินทรายจัด หรือเหนียวจัด จำเป็นต้องปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูก โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้วและสภาพความเป็นกรดด่างนั้น ควรจะวิเคราะห์หาค่าความต้องการปูนก่อนที่จะใช้ปูนขาวเพื่อให้มีการใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

การเตรียมดิน ก่อนการปลูกแตงกวา ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลายวัชพืช และศัตรูพืชบางชนิดที่อยู่ในดิน จากนั้นจึงไถพรวนเก็บเอาเศษวัชพืชออก แล้วเตรียมแปลงขนาดกว้าง 1-1.2 เมตร โดยมีความยาวตามลักษณะของพื้นที่ แล้วจึงใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไป ปรับโครงสร้างของดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของแตงกวา การเตรียมหลุมปลูกนั้นควรกำหนดระยะระหว่างต้น ประมาณ 60-80 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1 เมตร สำหรับการใส่ปุ๋ยเคมีรองพื้นนั้นอาจใช้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ ในบางแหล่งอาจใช้ พลาสติกคลุมดินเพื่อรักษาความชื้นในดิน ป้องกันความงอกของวัชพืช และพลาสติกบางชนิดสามารถที่จะไล่แมลงไม่ให้เข้ามาทำลายแตงกวาได้

การเตรียมพันธุ์ ขั้นตอนการเตรียมพันธุ์ นับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการปลูกแตงกวา ซึ่งพอแบ่งได้ดังนี้
1. การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์แตงกวา ควรคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ ซื้อจากร้านค้าให้เลือกซื้อจากร้านที่เชื่อถือ มีการบรรจุหีบห่อ เมล็ดที่สามารถป้องกันความชื้น หรืออากาศ จากภายนอกเข้าไปได้ ลักษณะเมล็ดแตงกวาควรมีการคลุกสารเคมี เพื่อป้องกันศัตรูพืชที่อาจติดมากับเมล็ด และก่อนใช้เมล็ดทุกครั้งควรทำการทดสอบความงอกก่อน
2. การเตรียมดินเพาะกล้า อัตราส่วนดิน : ปุ๋ยคอก 3:1 และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นกล้า 1 ไร่ คลุกให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงพลาสติกขนาด 6x10 เซนติเมตร เพื่อเตรียมสำหรับหยอดเมล็ดแตงกวาต่อไป
3. ทำการบ่มเมล็ด โดยนำเมล็ดบรรจุถุงพลาสติกที่เจาะรูพรุน แช่ในสารละลายเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น แคปเทน ออโธไซด์ ผสมอัตรา 5 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร แช่เมล็ดนาน 30 นาที เพื่อทำลายเชื้อราที่ผิวเมล็ด จากนั้นนำมาแช่น้ำ 4 ชั่วโมง แล้วจึงบ่มในผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ซึ่งบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกรัดปากถุงให้แน่น บ่มในสภาพอุณหภูมิห้องนาน 24 ชั่วโมง หลังจากรากงอกยาว 0.5 เซนติเมตร จึงนำไปเพาะต่อไป
4. การหยอดเมล็ดลงถุง นำเมล็ดที่ได้บ่มไว้หยอดลงแต่ละถุง จำนวนถุงละ 1 เมล็ด แล้วใช้ดินผสมหยอดกลบบางประมาณ 1 เซนติเมตร

การดูแลรักษากล้า หลังจากหยอดเมล็ดแล้ว ให้น้ำทันที โดยวิธีการฉีดพ่นให้เป็นฝอยละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปริมาณน้ำที่ให้นั้นไม่ควรให้ปริมาณที่มากเกินไป ในช่วงฤดูร้อน ควรจะให้วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้ตรวจดูความชื้นก่อนการให้น้ำทุกครั้ง ถุงเพาะกล้านี้ควรเก็บไว้ในที่แดดไม่จัดหรือมีการใช้วัสดุกันแสงไม่ให้มากระทบต้นกล้ามากเกินเกินไปเมื่อแตงกวา เริ่มงอกให้หมั่นตรวจดูความผิดปกติของต้นกล้าเป็นระยะ ๆ หากมีการระบาดของแมลงหรือโรคพืช ต้องรีบกำจัดโดยเร็ว และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 3-4 ใบ จะอยู่ในระยะพร้อมที่จะย้ายปลูก


การปลูกโดยไม่ใช้ค้าง         
สำหรับแตงกวาบางชนิด

การปลูก วิธีการปลูกแตงกวานั้น พบว่ามีการปลูกทั้งวิธีการหยอดเมล็ดโดยตรงและเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายปลูก การหยอดเมล็ดโดยตรงนั้นอาจจะมีความสะดวกในการปลูก แต่มีข้อเสียคือสิ้นเปลืองเมล็ด หากใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมซึ่งมีราคาแพงแล้ว จะเกิดความสูญเสียเปล่าและเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต รวมทั้งวิธีการหยอดเมล็ดนี้จำเป็นที่จะต้องดูแลระยะเริ่มงอกในพื้นที่กว้าง ดังนั้นการใช้วิธีการเพาะกล้าก่อน จึงมีข้อดีหลายประการ อาทิเช่น ประหยัดเมล็ดพันธุ์ ดูแลรักษาง่าย ต้นกล้ามีความสม่ำเสมอ ประหยัดค่าแรงงานในระยะกล้า เป็นต้น
สำหรับการย้ายกล้าปลูกนั้น ให้ดำเนินการตามกระบวนการเพาะกล้าตามที่กล่าวแล้ว และเตรียมหลุมปลูกตามระยะที่กำหนด จากนั้นนำต้นกล้าย้ายปลูกลงในหลุม ตามระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวตามที่ได้กำหนดไว้ โดยการฉีกถุงพลาสติกที่ใช้เพาะกล้าออกแล้วย้ายลงในหลุมปลูก ช่วงเวลาที่จะย้ายกล้านั้นควรย้ายช่วงประมาณเวลา 17.00 น. จะทำให้ปฏิบัติงานในไร่นาได้สะดวกและต้นกล้าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดียิ่งขึ้น

การให้น้ำ หลังจากย้ายกล้าปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

การใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยในแตงกวานั้น อาจแบ่งเป็นระยะต่าง ๆ ดังนี้
1. ระยะเตรียมดิน ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตราประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่
2. หลังย้ายปลูกประมาณ 7 วัน ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจน เช่น ยูเรีย หรือ แอมโมเนียซัลเฟต ในอัตราประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่
3. ระยะแตงกวาออกดอก ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 25 วัน หลังจากย้ายกล้า ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 12-24-12 อัตรา ประมาณ 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยเคมีทุกครั้งให้พรวนดิน
การให้น้ำแตงกวา หลังจากย้ายกล้าแตงกวาปลูกแล้ว ต้องให้น้ำทันที ระบบการให้น้ำนั้นอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ แต่ระบบที่เหมาะสมกับแตงกวา คือการให้น้ำตามร่อง เพราะว่าจะไม่ทำให้ลำต้น และใบไม่ชื้น ลดการลุกลามของโรคพืชทางใบ ช่วงเวลาการให้น้ำในระยะแรกควรให้ 2-3 วันต่อครั้งและเมื่อต้นแตงกวา เริ่มเจริญเติบโตแล้วจึงปรับช่วงเวลาการให้น้ำให้นานขึ้น ข้อควรคำนึงสำหรับการให้น้ำนั้น คือ ต้องกระจายในพื้นที่สม่ำเสมอตลอดแปลง และตรวจดูความชื้นในดินไม่ให้สูงเกินไปจนกลายเป็นแฉะ เพราะจะทำให้รากเน่าได้

การเก็บเกี่ยว แตงกวา อายุการเก็บเกี่ยวของแตงกวา นับจากวันปลูกประมาณ 30-40 วัน แล้วแต่พันธุ์แตงกวาสำหรับบริโภคสด ควรเลือกเก็บขณะที่ผลยังอ่อนอยู่เนื้อแน่นกรอบ และสังเกตได้จากมีนวลสีขาวเกาะและยังมีหนามอยู่บ้าง ถ้าผลแก่นวลจะจางหาย สีผลเริ่มเป็นสีเหลือง และไม่มีหนาม การเก็บแตงกวาควรทยอยเก็บวันเว้นวัน ไม่ปล่อยให้แก่คาต้น เพราะจะทำให้ผลผลิตทั้งหมดลดลง โดยปกติจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 1 เดือน

การปลูกมะเขือเทศ



 สภาพอากาศที่เหมาะสม
         ฤดูหนาว เป็นฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตของมะเขือเทศ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการเจริญเติบโตอยู่ระหว่าง 18-28 องศาเซลเซียสซึ่งต้นจะแข็งแรงและติดผลมาก ถ้าความชื้นของอากาศและอุณหภูมิสูงจะทำให้ผลผลิตและคุณภาพลดลง และทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ง่าย

         ปัญหาการปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนคือ ในฤดูฝนมีความชื้นและอุณหภูมิเหมาะแก่การเจริญเติบโตของโรคหลายชนิด และมะเขือเทศบางพันธุ์ผลจะแตกง่ายเมื่อฝนตกแต่ถ้าต้องการจะปลูกมะเขือเทศในฤดูฝนสิ่งที่จะต้องปฏิบัติคือ

         1. เลือกพื้นที่ปลูกที่สูงมีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ

         2. ดินมีสภาพเป็นกลาง คือมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.5-6.8

         3. ใช้พันธุ์ที่เหมาะสมคือให้ผลดกในฤดูฝนและฤดูร้อน

         4. มีการปฏิบัติรักษาอย่างถูกต้องดีคือ เตรียมดินใส่ปุ๋ยถูกต้อง ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและบ่อยครั้งเป็นพิเศษ อย่าปล่อยให้โรคทำลายก่อนแล้วจึงคิดป้องกันกำจัด ปกติผู้ปลูกที่ประสบความสำเร็จมักใช้สารป้องกันกำจัดแมลงและเชื้อราสูงกว่าในฤดูปกติ

 สภาพดินและการปลูกดิน


         ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะเขือเทศมากที่สุดควรเป็นดินร่วนมีอินทรียวัตถุสูงและมีการระบายน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ประมาณ 6.5-6.8 ถ้าดินเป็นกรดหรือด่างมากเกินไปจะทำให้ดินขาดธาตุอาหารบางอย่างได้ หรือธาตุอาหารบางชนิดสามารถละลายออกมาได้มากเกินไปจนเป็นเหตุให้เป็นพิษต่อต้นพืช การจะทราบว่าดินบริเวณที่จะปลูกเป็นกรดหรือด่างเท่าใดก็โดยส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งทางกองเกษตรเคมีจะได้แนะนำการปรับดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป

         การปลูกมะเขือเทศโดยทั่วไปไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิมหรือในพื้นที่ปลูกพืชในตระกูลเดียวกันกับมะเขือเทศมาก่อน เช่น พริก มะเขือและยาสูบ เป็นต้น เพราะอาจมีเชื้อโรคต่าง ๆ สะสมอยู่ในดิน ซึ่งเป็นโอกาสให้มะเขือเทศเป็นโรคได้ง่าย

         การเตรียมดินสำหรับปลูกมะเขือเทศต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก ดินต้องมีการระบายน้ำดี กำจัดวัชพืชให้หมด เพราะวัชพืชนอกจากจะแย่งน้ำ อาหารและแสงแดดแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลงได้อย่างดีอีกด้วย ดังนั้น ถ้าหากมีการเตรียมดินให้ดีตั้งแต่เริ่มแรกจะป้องกันการงอกของวัชพืชไปได้นาน ควรเตรียมดินให้ลึก 30-40 เซนติเมตร ถ้าใช้เครื่องทุ่นแรงหรือรถไถ 2-3 ครั้ง โดยไถกลบดินไปมาและตากดินให้แห้ง 3-4 อาทิตย์

         แล้วย่อยดินให้ละเอียดพอควร อย่าให้ละเอียดมากเกินไป เพราะมะเขือเทศต้องการสภาพดินที่มีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศได้ ถ้าหากดินเป็นกรดให้ใช้ปูนขาวหว่านในอัตราตามที่ได้รับคำแนะนำจากการวิเคราะห์ดินหรือหากไม่ได้ส่งดินไปวิเคราะห์จะหว่านปูนประมาณ 100-300 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใช้ปูนขาวหว่านและคลุกเคล้ากับดินหรืออาจจะหว่านก่อนการเตรียมดินครั้งสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามควรใส่ปูนขาวก่อนปลูก 2-3 อาทิตย์

  การเพาะกล้า

   ทำได้ 2 วิธี คือ

 กระบะเพาะ
         นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าจำนวนไม่มากนัก การเพาะกล้าโดยวิธีนี้จะสามารถเพาะได้ดีเนื่องจากใช้ดินจำนวนน้อยสามารถนำดินมาอบฆ่าเชื้อโรคก่อนทำการเพาะได้ สารเคมีที่ใช้ในการอบดินได้แก่ เมทิลโบรโมด์ คลอโรพิคริน หรือจะใช้เมอร์คิวริคคลอไรด์ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อน้ำ 2,000 ส่วน นำไปรดดินที่จะเพาะ แล้วทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ก่อนเพาะ แต่ถ้าหากไม่สามารถจะทำได้ก็ใช้วิธีนำดินไปอบด้วยไอน้ำร้อน หรือตากดินที่จะใช้เพาะให้ดีก่อนประมาณ 3-4 อาทิตย์ หรือเลือกดินที่ปราศจากโรคมาเป็นส่วนผสม โดยสังเกตว่าดินนั้นปลูกพืชแล้วพืชไม่เคยเป็นเคยเป็นโรคมาก่อน หรือเป็นดินที่ไม่เคยปลูกพืชมาก่อนก็ใช้ได้

         กระบะที่ใช้เพาะเมล็ดควรมีขนาดประมาณ 45 x 60 เซนติเมตร (หรือภาชนะที่พอจะหาได้) ลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร มีรูระบายน้ำได้ใส่ดินที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน ปุ๋ยคอก 1 ส่วน ทรายหรือแกลบ 1 ส่วนคลุกเคล้าให้เข้ากันปรับผิวหน้าดินให้เรียบ แล้วโรยเมล็ดเป็นแถวโดยการใช้ไม้ทาบเป็นร่องเล็ก ๆ ระยะห่างกันระหว่างแถวประมาณ 5-7 เซนติเมตร แล้วกลบเมล็ดด้วยแกลบหรือทรายบาง ๆ แล้วรดน้ำให้ชุ่มใช้สารเคมีฆ่าแมลงผสมน้ำรดอีกทีหนึ่ง เพื่อกันมดคาบเมล็ดไปกิน เมื่อเมล็ดเริ่มงอกให้ใช้สารเคมีกันรา เช่น แคปแทนหรือแมนเซทดี อัตรา 4 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บรด 1 ครั้ง เมื่อกล้าอายุได้ 15 วัน หรือมีใบจริง 2 ใบ ให้ย้ายกล้าลงใส่ถุงพลาสติกขนาด 4 x 6 นิ้ว ซึ่งบรรจุดินผสมอยู่

         เมื่อกล้าสูงประมาณ 1 คืบหรือมีอายุ 30-40 วันจึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก โดยใช้มีดกรีดถุงพลาสติกให้ขาดเพื่อไม่ให้รากกระทบกระเทือนก่อนที่จะย้าย 2-3 วัน อาจใช้โปแตสเซี่ยมคลอไรด์อัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ รดเพื่อให้ต้นกล้าแข็งแรงแต่ก่อนย้ายกล้าควรงดให้น้ำ 1 วัน เพื่อให้ดินในถุงจับตัวแน่น จะสะดวกต่อการย้ายกล้ามาก

         อย่างไรก็ตามเมื่อกล้ามีใบจริง 2-3 ใบ หากไม่ย้ายกล้าลงถุงพลาสติกก็ควรชำต้นกล้าให้เป็นแถวในแปลงชำซึ่งเตรียมดินให้ร่วนซุยโดยการใส่ปุ๋ยคอกอัตรา 5-7 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร ขนาดแปลงชำกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่และปริมาณของต้นกล้า ระยะปลูกระหว่างแถว 10 เซนติเมตร ระหว่างต้น 10 เซนติเมตร และเมื่อกล้าสูงประมาณ 1 คืบ หรือมีอายุ 30-35 วัน ก็ย้ายลงแปลงปลูกจริง โดยก่อนย้ายจะต้องรดน้ำในแปลงชำให้ชุ่มเสียก่อน เพื่อความสะดวกในการถอนต้นกล้า และรากต้นกล้าจะไม่ขาดและกระทบกระเทือนมาก

  แปลงเพาะ

    นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการต้นกล้าเป็นจำนวนมาก สำหรับขนาดแปลงเพาะก็เช่นเดียวกับแปลงชำ คือขนาดกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่หรือปริมาณกล้าที่ต้องการ ทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร ผสมดินด้วยปุ๋ยคอกและทรายตามอัตราส่วน 3: 1 เช่นกัน ทำการเพาะเมล็ดโดยโรยเมล็ดเป็นแถวห่างกัน 10 เซนติเมตร เมื่อกล้ามีอายุ 20-25 วัน หรือมีใบจริง 2-3 ใบ ก็สามารถย้ายลงแปลงปลูกได้ แปลงเพาะควรมีตาข่าย หรือผ้าดิบคลุมแปลงเพื่อป้องกันแดด ลม และฝน ซึ่งจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ต้นอ่อนให้ถึงตายหรือเกิดโรคได้ ถ้าจะให้ได้ผลดีควรเปิดให้รับแสงแดดถึง 3 โมงเช้าและเปิดอีกครั้งเมื่อ 4 โมงเย็น

         ในกรณีที่หาวัสดุหรือผ้าคลุมแปลงไม่ได้และไม่ใช่ฤดูฝน อาจจะใช้ฟางข้าวใหม่มาคลุมบาง ๆ หลังจากโรยเมล็ดและกลบดินเรียบร้อยแล้ว เมื่อเมล็ดงอกแล้วค่อย ๆ ดึงเอาฟางออกบ้างเพื่อให้ต้นกล้าโผล่พ้นฟางได้ง่ายและต้นกล้าจะได้แข็งแรง เนื่องจากเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศนั้นมีราคาแพง ดังนั้น ก่อนจะเพาะกล้า ควรจะได้ทดลองหาความงอกของเมล็ดเสียก่อนว่ามีความงอกเท่าไร (กี่เปอร์เซ็นต์) โดยใช้วิธีเพาะเมล็ดในกระดาษเพาะเมล็ดโดยตรงหรือถ้าไม่มีก็ใช้กระดาษฟางชื้น หรือในกระบะทรายก็ได้โดยใช้เมล็ด 100 เมล็ด หลังจากเพาะได้ 10-15 วัน นับจำนวนต้นที่งอกเป็นเปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด

 การปลูกและแปลงปลูก

  แปลงปลูกควรไถพรวนและปรับระดับดินให้เรียบสม่ำเสมอกันแล้วยกแปลงให้สูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 100 เซนติเมตร ปลูกเป็นแถวคู่ระยะระหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยคอกหนึ่งกระป๋องนมต่อหลุม ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1 กรัมต่อต้น คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงย้ายกล้าลงหลุมปลูกหลุมละ 1-2 ต้น กลบดินให้เสมอระดับผิวดินอย่าให้เป็นแอ่งหรือเป็นหลุม เพราะจะทำให้น้ำขังและต้นกล้าเน่าตายได้ ถ้าปลูกขณะที่ฤดูฝนยังไม่สิ้นสุด แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวหรือฤดูแล้งควรจะกลบดินให้ต่ำกว่าระดับหลุมเล็กน้อย

         สำหรับการย้ายกล้าลงแปลงปลูกนี้ต้องเลือกต้นกล้าที่มีลักษณะดี มียอดและปราศจากโรคและแมลงรบกวน ถ้าเป็นการย้ายกล้าจากแปลงเพาะหรือแปลงชำมาลงปลูกโดยตรง ควรย้ายปลูกในเวลาที่อากาศไม่ร้อนคือในตอนบ่ายหรือตอนเย็น เมื่อย้ายเสร็จให้รีบรดน้ำตามทันทีจะทำให้กล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น และเปอร์เซ็นต์การตายน้อยลง แต่ถ้าเป็นการย้ายกล้าที่ชำในถุงพลาสติก สามารถย้ายลงแปลงได้ทุกเวลา กล้าจะตั้งตัวได้เร็วและรอดตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

         หลังจากย้ายกล้าแล้วรดน้ำกล้าให้ชุ่มทุกเช้า-เย็น เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้ว จึงควรรดน้ำเพียงวันละครั้งในบางแห่งอาจจะให้น้ำแบบเข้าตามร่องแปลงจนชุ่มแล้ว ปล่อยน้ำออก วิธีนี้สามารถจะทำให้มะเขือเทศได้รับน้ำอย่างเต็มที่และอยู่ได้ถึง 7-10 วัน

การพรวนดินกลบโคนต้น


         เมื่อต้นกล้าตั้งตัวได้แล้วควรพรวนดินกลบโคนต้น โดยเปิดเป็นร่องระหว่างแถว เพื่อให้การให้น้ำทำได้สะดวก น้ำไม่ขัง และทำให้รากมะเขือเทศเกิดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ต้นแข็งแรงมากขึ้น และการพรวนดินกลบโคนก็เป็นการกำจัดวัชพืชไปในตัวด้วย หลังจากพรวนดินกลบโคนครั้งแรกแล้ว หลังจากนั้นอีก 1 เดือนให้ทำการกลบโคนอีกครั้งหนึ่ง

 การให้น้ำ
         มะเขือเทศต้องการน้ำสม่ำเสมอ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนถึงผลเริ่มแก่ (ผลมีการเปลี่ยนสี) หลังจากนั้นควรลดการให้น้ำลง มิฉะนั้นอาจทำให้ผลแตกได้ การรดน้ำมากเกินไปจะทำให้ดินชื้น ซึ่งทำให้เชื้อราที่ทำให้เกิดโรคเน่าเจริญได้ดี แต่หากมะเขือเทศขาดน้ำ และให้น้ำอย่างกะทันหันก็จะทำให้ผลแตกได้เช่นกัน

 การใส่ปุ๋ย
     นอกจากจะใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 รองก้นหลุมก่อนปลูกแล้ว จำเป็นจะต้องมีการใส่ปุ๋ยเคมีเสริมด้วย เพื่อให้คุณภาพและผลผลิตของมะเขือเทศสูงขึ้น สำหรับปุ๋ยเคมีที่จะใช้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินแต่ละแห่ง เช่น ถ้าดินเป็นดินเหนียว ปุ๋ยเคมีที่ใช้ควรมีไนโตรเจนและโปแตสเซี่ยมเท่ากัน

         ส่วนฟอสฟอรัสให้มีอัตราสูง เช่น สูตร 12-24-12 หรือ 15-30-15 ถ้าเป็นดินร่วนควรให้ปุ๋ยที่มีโปแตสเซี่ยมสูงขึ้น แต่ไม่สูงกว่าฟอสฟอรัส เช่นสูตร 10-20-15 ส่วนดินทรายเป็นดินที่ไม่ค่อยจะมีโปแตสเซี่ยม จึงควรให้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมสูงกว่าตัวอื่น เช่นสูตร 15-20-20, 13-13-21 และ 12-12-17 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการปลูกมะเขือเทศนอกฤดูจะต้องใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจนสูง เนื่องจากมะเขือเทศจะใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากถ้าหากอุณหภูมิของอากาศสูง แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าไม่สามารถหาปุ๋ยสูตรดังกล่าวข้างต้นได้ก็สามารถใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ โดยการแบ่งใส่ 3 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากย้ายปลูก 7 วัน
ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งที่หนึ่ง 15 วัน
ครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่สอง 20 วัน
การปักค้าง
         พันธุ์ที่ทอดยอดหรือพันธุ์เลื้อยจำเป็นต้องมีการปักค้างโดยใช้ไม้หลักปักค้างต้นก่อนระยะออกดอก โดยใช้เชือกผูกกับลำต้นให้ไขว้กันเป็นเลข 8 และผูกเงื่อนกระตุกกับค้างเพื่อให้ต้นเจริญเติบโตได้ดี สะดวกต่อการดูแลรักษา ฉีดสารป้องกันแมลงได้ทั่วถึง ผลไม่สัมผัสดิน ทำให้ผลสะอาดและสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว

วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การปลูกกะเพรา




วิธีปลูก

สามารถปลูกได้ 2 วิธี คือ เพาะเมล็ดและปักชำ ขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด

การเลือกพื้นที่ปลูก
กะเพราเป็นพืชล้มลุกที่มีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวไปได้เรื่อยๆ ทุก 15-20 วัน การเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นที่ดอน แต่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้รดได้สะดวก ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขัง ปกติกะเพราสามารถขึ้นได้ดีในดินทุกชนิด แต่จะชอบดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ดีร่วนซุย ระบายน้ำดี อยู่ใกล้ที่พักอาศัย อยู่ไม่ไกลจากตลาดหรือแหล่งรับซื้อมากนัก และการคมนาคมสะดวก

การเตรียมดินปลูก
กะเพราเป็นพืชที่มีระบบรากลึกปานกลาง ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บเกี่ยวได้ 10-15 ครั้ง ต่อระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลง กิ่งก้านแข็ง แตกยอดน้อย เมื่อถึงตอนนี้ควรจะรื้อปลูกใหม่ อย่างไรก็ดีการเตรียมดินปลูกกะเพราก็เหมือนกับปลูกพืชอื่นๆ คือไถ หรือขุดดินลึกประมาณ 20-25 เซนติเมตร ตากดินไว้ 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าให้เข้ากับดินให้ทั่ว ย่อยดินให้ละเอียดแล้วพร้อมที่จะปลูกได้

วิธีการปลูก
การปลูกกะเพราโดยทั่วไปมีการปฏิบัติกันอยู่ 3 วิธี ดังนี้

1. ปลูกโดยการหว่านเมล็ด การปลูกด้วยวิธีนี้จะต้องใช้เมล็ดพันธุ์มากและใช้แรงงานมากในการถอนแยก โดยเริ่มจากรดน้ำให้ชุ่มทั่วแปลง แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายสม่ำเสมอทั่วแปลง โดยทั่วไปใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 250 กรัมต่อไร่ ใช้แกลบขาวหรือแกลบดำโรยคลุมให้ทั่วแปลง หลังจากนั้นใช้ฟางแห้งหรือหญ้าแห้งคลุมทับบางๆ เสร็จแล้วให้รดน้ำตาม และรดน้ำทุกๆ วัน หลังจากงอกประมาณ 15-20 วัน ควรทำการถอนแยกให้ได้ระยะระหว่าง 20x20 เซนติเมตร

2. ปลูกโดยการใช้ต้นกล้า เป็นวิธีที่เกษตรกรนิยมปฏิบัติกันมากเพราะให้ผลผลิตสูงและสะดวกในการจัดการ โดยทำการเพาะกล้าในแปลงเพาะจนกระทั่งกล้ามีอายุ 20-25 วัน จึงทำการย้ายปลูก การย้ายปลูกควรทำในตอนเย็นและปลูกให้เสร็จภายในวันเดียวกัน เมื่อถอนต้นกล้ามาแล้วจึงเด็ดยอดออก ขุดหลุมให้ได้ระยะ 20x20 เซนติเมตร แล้วนำต้นกล้าที่เด็ดยอดแล้วลงปลูก หลังจากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมระหว่างแถว รดน้ำตามทันทีและรดน้ำทุกวัน

3. ปลูกโดยการใช้ต้นและกิ่งแก่ การปลูกโดยใช้ลำต้นและกิ่งแก่ทำให้ได้ผลผลิตเร็ว แก่กิ่งและยอดที่แตกออกมาใหม่มักไม่สวนเท่าที่ควร ลำต้นโทรมและตายเร็ว วิธีการโดยตัดต้นและกิ่งแก่ที่มีอายุมากกว่า 8 เดือน ให้มีความยาว 5-10 เซนติเมตร เด็ดยอดและใบออก แล้วนำต้นหรือกิ่งแก่ไปปักชำในแปลง ใช้ระยะปลูก 20x20 เซนติเมตร หลังจากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมระหว่างแถว รดน้ำตามทันที และหลังจากปลูกควรรดน้ำทุกวัน

การปฏิบัติดูแลรักษา


กะเพราเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูงและสม่ำเสมอ ดังนั้นควรมีการรดน้ำทุกวันเช้า-เย็น แต่ระวังอย่าให้มีการท่วมขังของน้ำในแปลง และในระยะแรกควรมีการพรวนดินและกำจัดวัชพืชทุก 1-2 สัปดาห์ โดยการใช้มือถอน ใช้จอบหรือเสียมดายหญ้าออก แต่ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนต้นและราก

สำหรับการใส่ปุ๋ยกะเพรานั้น หลังจากปลูก 15 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ในอัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ โรยข้างแถวแล้วพรวนดินกลบและรดน้ำตาม หลังจากปลูก 20-25 วัน ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โดยละลายน้ำรดในตอนเย็น และหลังจากเก็บเกี่ยวทุกครั้งให้ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่

โดยปกติแล้วกะเพราเป็นพืชที่ไม่ค่อยมีปัญหาจากการทำลายของโรคและแมลงมากนัก ดังนั้นหากมีแมลงรบกวนจึงไม่ควรใช้สารเคมี โดยให้ยึดหลักวิธีการผลิตผักอนามัยเป็นแนวทางในการปฏิบัติ

การเก็บเกี่ยว
         กะเพราสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 30-35 วันหลังปลูก โดยใช้มีดคมๆ ตัดลำต้นให้ลำต้นเหลือสูงจากพื้นดินประมาณ 10-15 เซนติเมตร แต่ถ้ายังไม่มีผู้รับซื้อเกษตรกรสามารถชะลอการเก็บเกี่ยวออกไปได้โดยการเด็ดยอดที่มีดอกทิ้ง หลังจากตัดลำต้นแล้วกะเพราจะแตกยอดและกิ่งก้านออกมาใหม่ การเก็บเกี่ยวสามารถกระทำได้ทุก 15 วัน ไปตลอดระยะเวลา 7-8 เดือน หลังจากนั้นผลผลิตจะลดลงเรื่อยๆ เกษตรกรจึงควรทำการถอนทิ้งเพื่อปลูกใหม่

การปลูกผักบุ้ง




ผักบุ้งจีนใช้เวลาในการงอกเพียง 48 ชั่วโมง ระยะแรกของการเจริญเติบโตจะให้ลำต้นตั้งตรง หลังจากงอกได้ 5-7 วัน จะมีใบเลี้ยงโผล่ออกมา 2 ใบ มีลักษณะปลายใบเป็นแฉก ไม่เหมือนกับใบจริงเมื่อต้นโตในระยะสองสัปดาห์แรก จะมีการเจริญเติบโตทางลำต้นอย่างรวดเร็วจนกระทั่งอายุประมาณ 30-45 วัน การเจริญเติบโตจะเปลี่ยนไปในทางทอดยอดและแตกกอ
สำหรับผักบุ้งจีนที่หว่านด้วยเมล็ด การแตกกอจะมีน้อยมาก การแตกกอเป็นการแตกหน่อออกมาจากตาที่อยู่บริเวณโคนต้นที่ติดกับราก มีตาอยู่รอบต้น 3-5 ตา เมื่อแตกแถวออกมาแล้วจะเจริญทอดยอดยาวออกไปเป็นลำต้น มีปล้องข้อ และทุกข้อจะให้ดอกและใบ


1. การเลือกที่ปลูก การปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการปลูกผักบุ้งจีนแบบหว่าน หรือโรยเมล็ดลงบนแปลงปลูกโดยตรง เมื่อถึงอายุเก็บเกี่ยว 20-25 วัน จะถอนต้นผักบุ้งจีนทั้งต้นและรากออกจากแปลงปลูกไปบริโภคหรือไปจำหน่ายต่อไป ในการปลูกนั้นควรเลือกปลูกในที่มีการคมนาคมขนส่งสะดวก สภาพที่ดอน น้ำไม่ท่วม หรือเป็นแบบสวนผักแบบยกร่อง เช่น เขตภาษีเจริญ บางแค กรุงเทพฯ บางบัวทอง นนทบุรี นครปฐม และราชบุรี เป็นต้น ลักษณะดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย เพื่อถอนต้นผักบุ้งจีนได้ง่าย และควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อสะดวกในการรดน้ำในช่วงการปลูก และทำความสะอาดต้นและรากผักบุ้งจีนในช่วงการเก็บเกี่ยว


2. การเตรียมดิน ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่มีระบบรากตื้น ในการเตรียมดินควรไถตะตากดินไว้ประมาณ 15-30 วัน แล้วดำเนินการไถพรวนและขึ้นแปลงปลูก ขนาดแปลงกว้าง 1.5-2 เมตร ยาว 10-15 เมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 40-50 เซนติเมตร เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยคอก (มูลสุกร เป็ด ไก่ วัว ควาย) หรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว คลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียดพอสมควรปรับหลังแปลงให้เรียบเสมอกัน อย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนจะขึ้นไม่สม่ำเสมอทั้งแปลง ถ้าดินปลูกเป็นกรด ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับพีเอชของดินให้สูงขึ้น
3. วิธีการปลูก ก่อนปลูกนำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนไปแช่น้ำนาน 6-12 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนดูดซับน้ำเข้าไปในเมล็ด มีผลให้เมล็ดผักบุ้งจีนงอกเร็วขึ้น และสม่ำเสมอกันดี เมล็ดผักบุ้งจีนที่ลอยน้ำจะเป็นเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ไม่สมบูรณ์ ไม่ควรนำมาเพาะปลูก ถึงแม้จะขึ้นได้บ้าง แต่จะไม่สมบูรณ์แข็งแรงอาจจะเป็นแหล่งทำให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย นำเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนที่ดีไม่ลอยน้ำมาหว่านให้กระจายทั่วทั้งแปลงให้เมล็ดห่างกันเล็กน้อย ต่อจากนั้นนำดินร่วนหรือขี้เถ้าแกลบดำหว่านกลบเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนหนาประมาณ 2-3 เท่าของความหนาของเมล็ดหรือประมาณ 0.5 เซนติเมตร แต่ถ้าแหล่งที่ปลูกนั้นมีเศษฟางข้าว จะใช้ฟางข้าวคลุมแปลงปลูกบาง ๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน หรือทำให้หน้าดินปลูกผักบุ้งจีนไม่แน่นเกินไป รดน้ำด้วยบัวรดน้ำหรือใช้สายยางติดฝักบัวรดน้ำให้ความชื้น แปลงปลูกผักบุ้งจีนทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ประมาณ 2-3 วัน เมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีน จะงอกเป็นต้นผักบุ้งจีนต่อไป
4. การปฏิบัติดูแลรักษาผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสด
4.1 การให้น้ำ ผักบุ้งจีนเป็นพืชที่ชอบดินปลูกที่ชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะจนมีน้ำขัง ฉะนั้นควรรดน้ำผักบุ้งจีนอยู่เสมอทุกวัน ๆ ละ 1-2 ครั้ง ยกเว้นช่วงที่ฝนตกไม่ต้องรดน้ำ อย่าให้แปลงปลูกผักบุ้งจีนขาดน้ำได้ จะทำให้ผักบุ้งจีนชะงักการเจริญเติบโต คุณภาพไม่ดี ต้นแข็งกระด้าง เหนียว ไม่น่ารับประทาน และเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าปกติ
4.2 การใส่ปุ๋ย ผักบุ้งจีนเป็นพืชผักที่บริโภคใบและต้นมีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ถ้าดินปลูกมีความอุดมสมบูรณ์ หรือมีการใส่ปุ๋ยคอก เช่น มูลสุกร มูลเป็ด ไก่ เป็นต้น ซึ่งปุ๋ยคอกดังกล่าวเป็นปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูงอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเคมีก็ได้ แต่ถ้าดินปลูกไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ นอกจากต้องให้ปุ๋ยคอกแล้ว ควรมีการใส่ปุ๋ยทางใบที่มีไนโตรเจนสูง โดยหว่านปุ๋ยกระจายทั่วทั้งแปลงก่อนปลูกและหลังปลูกผักบุ้งจีนได้ประมาณ 7-10 วัน ซึ่งการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2 นั้น หลังจากหว่านผักบุ้งจีนลงแปลงแล้ว จะต้องมีการรดน้ำแปลงปลูกผักบุ้งจีนทันที อย่าให้ปุ๋ยเกาะอยู่ที่ชอกใบ จะทำให้ผักบุ้งจีนใบไหม้ ในการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 2 นั้น จะใช้วิธีการละลายน้ำรด 3-5 วันครั้งก็ได้ โดยใช้อัตราส่วน ปุ๋ยยูเรีย 10 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จะเป็นการช่วยให้ผักบุ้งจีนเจริญเติบโต และเก็บเกี่ยวได้รวดเร็วขึ้น

เมล็ดเริ่มงอกหลังจากหว่านประมาณ 2-3 วัน


การให้น้ำ
4.3 การพรวนดินและกำจัดวัชพืช ถ้ามีการเตรียมดินดีมีการใส่ปุ๋ยคอกก่อนปลูกและมีการหว่านผักบุ้งขึ้นสม่ำเสมอกันดี ไม่จำเป็นต้องพรวนดิน เว้นแต่ในแหล่งปลูกผักบุ้งจีนดังกล่าวมีวัชพืชขึ้นมาก ควรมีการถอนวัชพืชออกจากแปลงปลูกอยู่เสมอ 7-10 วันต่อครั้ง ในแหล่งที่ปลูกผักบุ้งจีนเพื่อการบริโภคสดเป็นการค้าปริมาณมาก ควรมีการพ่นสารคลุมวัชพืชก่อนปลูก 2-3 วัน ต่อจากนั้นจึงค่อยหว่านผักบุ้งจีนปลูก จะประหยัดแรงงานในการกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกผักบุ้งจีนได้ดีมากวิธีการหนึ่ง
4.4 การเก็บเกี่ยว หลังจากหว่านเมล็ดพันธุ์ผักบุ้งจีนลงแปลงปลูกได้ 20-25 วัน ผักบุ้งจีนจะเจริญเติบโต มีความสูงประมาณ 30-35 เซนติเมตร ให้ถอนต้นผักบุ้งจีนออกจากแปลงปลูกทั้งต้นและราก ควรรดน้ำก่อนถอนต้นผักบุ้งจีนขึ้นมาจะถอนผักบุ้งจีนได้สะดวก รากไม่ขาดมาก หลังจากนั้นล้างรากให้สะอาด เด็ดใบและแขนงที่โคนต้นออก นำมาผึ่งไว้ ไม่ควรไว้กลางแดดผักบุ้งจีนจะเหี่ยวเฉาได้ง่าย จัดเรียงต้นผักบุ้งจีนเป็นมัด เตรียมบรรจุภาชนะเพื่อจัดส่งตลาดต่อไป

การปลูกมะระจีนและการปลูกมะระจีนลูกผสม



การปลูกมะระจีนลูกผสม Bitter cucumber-chinese
            ก่อนอื่นเรามารู้จักสายพันธุมะระจีนลูกผสมที่ได้รับความนิยมกันก่อน ส่วนใหญ่เกษตรที่ทำการปลูกมะระจีนต้องเลือกสายพันธุก่อนสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือ เมล็ดพันธุ์ มะระลูกผสมพันธุ์เขียวหยก16 ของตราศรแดง มะระลูกผสมพันธุ์หยกกวางเจาและมะระลูกผสมพันธุ์หยกไชน่า ของตราเสือดาว มะรลูกผสมพันธุนวลลออ พันธุ์พันทิพา ของตราโอเค
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนโรคและให้ผลผลิตสูง ทางน้ำหยดนำและสีผิวเป็นที่ต้องการของตลาด ขนาดผลผลิตยาวประมาณ 30-35 ซม.น้ำหนักเฉลี่ย  0.7-0.8 กก./ผล



ขั้นตอนการปลูกเมล็ดมะระจีนลูกผสม
ปริมาณเมล็ดพันธุ์
  เมล็ดพันธุ์มะระจีนลูกผสมที่ใช้ ประมาณ  100-150 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 500-700 เมล็ด

การเพาะเมล็ด
 1.การเพาะเมล็ดเป็นที่นิยมของเกษตรกรโดยทั่วไป

   - นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำประมาณ 5-6 ชั่วโมง
   - นำเมล็ดพันธุที่แช่น้ำแล้วมาห่อผ้าขาวบาวหรือผ้าขนหนูแล้วอบใส่ภาชนะที่มีฝาปิดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน
   - หลังจากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ออกมาจะสังเกตูเห็นว่าเมล็ดพันธุ์มีการแทงรากออกมาแล้วนำไปใส่ถาดเพาะกล้า(ควรใช้ดินสำหรับเพาะกล้า)
     ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วันแล้วค่อยนำกล้าที่เพาะแล้วลงหลุมปลูก

 2.การหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกไม่เป็นที่นิยมของเกษตรกร
ระยะการปลูกและการทำค้าง
 1.ในฤดูร้อนและในฤดูหนาว

   - ระยะระหว่างต้น 1.50 เมตร
   - ระยะระหว่างแถว 3.00 เมตร
 2.ในฤดูฝน
   - ระยะระหว่างต้น 2.00 เมตร
   - ระยะระหว่างแถว 4.00 เมตร
 3.การทำค้างมี 2 แบบที่เกษตรนิยม
   - ทำค้างแบบสามเหลี่ยม
   - ทำค้างแบบกล่อง


การเตรียมดิน   - ไถพรวนดินให้ลึกประมาณ 0.30-0.50 เมตร เพราะรากของมะระจีนนั้นแผ่ขยายกว้างและลึก
   - ใสปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ในปริมาณ 1-2 ตัน ต่อไร่
   - ใช้คากิ ปูนหอย หรือปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดของดิน
   - รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีอินทรีย์  18-5-4   




















การดูแลรักษา   - อายุ 10-14 วัน
     - ริ่มแตกใบจริง 4-6ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัโรคพืชและแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เล็กๆ
       เพื่อป้องกันโรคไวรัส ยอดหยิก ยอดตั้ง ยอดไอ้โต้ง
     - เริ่มแตกยอดให้เด็ดยอดทิ้งเพิ่มมะระจะไดแทงแขนงข้างได้มากขึ้น









 - อายุ 14-21 วัน
     - ระยะการเจริญเติบโตช่วงแตกแขนงข้าง พยายามปลิดใบล่างออก สูงจากโคนต้นประมาณ 1.00 ม.
  เพื่อให้ส่วนโคนต้นระบายอากาศได้ดี ป้องกันการสะสมของแมลงศัตรูพืช และยังช่วยให้มะระจีนลำเลียงอาหารจากลำต้นไปเลี้ยงยอดได้ดีขึ้น
ทำให้การติดดอก ออกผลสมบูรณ์ขึ้นด้วย
     - ระยะนี้ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษในการป้องกันโรคเชื้อราและโรคไวรัส








 - อายุ 14-21 วัน
     - ระยะการเจริญเติบโตช่วงแตกแขนงข้าง พยายามปลิดใบล่างออก สูงจากโคนต้นประมาณ 1.00 ม.
  เพื่อให้ส่วนโคนต้นระบายอากาศได้ดี ป้องกันการสะสมของแมลงศัตรูพืช และยังช่วยให้มะระจีนลำเลียงอาหารจากลำต้นไปเลี้ยงยอดได้ดีขึ้น
ทำให้การติดดอก ออกผลสมบูรณ์ขึ้นด้วย 
 - อายุ 35-42 วัน
     - เริ่มติดผลผลิตเกษตรกรจะทำการสอดลูกแล้วระยะนี้เกษตรกรบางท่านก็นิยมนำกระดาษมาห่อลูกมะระเพื่อป้องกันแมลงวันทอง
ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการปลูกมะระจีน ประโยชน์อีกทางหนึ่งของการห่อจะทำให้สีของลูกมะระจีนสวย แต่บางครั้งทำให้หลายแปลงเสียค่าใช้จ่ายเ
ในเรื่องแรงงานและวัสดุมาก จึงอยากแนะนำเกษตรว่าในปัจจุบันมีสารล่อแมลงวันทองซึ่งจะทำให้ประหยดค่าแรงงานค่อนข้างมาก
และในส่วนของสีผิวของผลมะระจีนนั้นสามารถทำใสีเขียวหยกได้โดยใช้ ไวท์ออย ช่วย 
     - ระยะนี้ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษในการป้องกันโรคเชื้อราและโรคไวรัส

- อายุ 42-48 วัน
 เริ่มเก็บผลผลิต เก็บผลผลิตวันเว้นวันไปเรื่อย จนอายุได้ประมาณ 80 วัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อ 1 ไร่ประมาณ 2-5 ตัน 
  1. เก็บผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 15-20 ครั้ง


โรคและแมลงศัตรูพืช

   - โรคใบจุด โรคใบเลือง โรคราน้ำค้าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคไวรัส

     ใช้สารป้องกันกำจัดตามอาการ
   - แมลงศัตูพืช เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง หนอนชอนใบ

    ใช้สารป้องกันกำจัดตามอาการ




การปลูกหอมแดง


หอมแดงเป็นพืชผักที่ปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่โดยธรรมชาติแล้ว หอมแดงชอบอากาศเย็น และกลางวันสั้น คือ ต้องการแสงแดดเพียง 9-10 ชั่วโมงต่อวัน ดังนั้นหากปลูกในฤดูหนาว หอมแดงจะมีการเจริญเติบโตดี แตกกอให้จำนวนหัวมาก และมีขนาดหัวใหญ่ แต่หอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาวนี้จะมีอายุการเก็บเกี่ยวนานกว่าหอมแดงที่ปลูกในฤดูอื่น เช่น ในฤดูหนาวทางภาคเหนือ หอมแดงจะแก่จัดเก็บเกี่ยวได้ช่วงอายุ 90-110 วัน หากปลูกในฤดูฝนจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงอายุ 45-60 วัน
พันธุ์ของหอมแดง
ที่นิยมปลูกในบ้านเรา คือ
1. หอมแดงพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ ทางภาคเหนือเรียก หอมบั่ว เป็นหอมแดงที่มีเปลือกนอกสีเหลืองปนส้มขนาดหัวปานกลาง ลักษณะกลมสี ใน 1 หัวแยกได้ 2-3 กลีบ กลิ่นไม่ฉุนจัด รสหวาน ระหว่างการเจริญเติบโตไม่มีดอกและเมล็ด เมื่อปลูก 1 หัว จะแตกกอให้หัว ประมาณ 5-8 หัว อายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ในฤดูหนาว 90 วัน และฤดูฝน 45 วัน ผลผลิตที่ได้แตกต่างกันตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ 2000-3000 กิโลกรัม/ไร่ คุณภาพในการเก็บรักษาไม่ค่อยดี เพราะมีเปอร์เซ็นต์ แห้งฝ่อ และเน่าเสียหายมากถึง 60%
2. หอมแดงพันธุ์บางช้าง หรือหอมแดงศรีสะเกษ เป็นหอมแดง ที่มีเปลือกนอกสีม่วงปนแดง เปลือกหนาและเหนียว ขนาดหัวใหญ่ สม่ำเสมอ หัวมีลักษณะกลมใน 1 หัว มี 1-2 กลีบ กลิ่นฉุนจัด มีรสหวาน ระหว่างการเจริญเติบโต จะสร้างดอกและเมล็ดมาก ซึ่งจะต้องหมั่นตรวจดูและเด็ดทิ้งให้หมด มิฉะนั้นจะทำให้ได้ขนาดหัวเล็ด และจำนวนหัวน้อย โดยทั่วไปเมื่อปลูก 1 หัวจะแตกกอให้หัวประมาณ 8-10 หัว การแตกกอและลงหัวช้ากว่าหอมบั่วเล็กน้อย มีอายุเมื่อหัวแก่เต็มที่ให้ฤดูหนาว 100 วันขึ้นไป และฤดูฝน 45 วัน ให้ผลผลิตแตกต่างกันไปตามฤดูปลูกและการดูแลรักษาได้ประมาณ 1000-5000 กิโลกรัม/ไร่ คุณภาพในการเก็บรักษาดีกว่าหอมบั่ว
แหล่งเพาะปลูก
แหล่งเพาะปลูกหอมแดง มากที่สุดคือ ภาคอีสาน ได้แก่ ศรีสะเกษ , บุรีรัมย์ , นครราชสีมา รองลงมาคือ ภาคเหนือ ได้แก่ ลำพูน , เชียงใหม่ , เชียงรายและอุตรดิตถ์ นอกจากนี้ยังมีปลูกกันที่ราชบุรี , กาญจนบุรี และนครปฐม ด้วย
ฤดูปลูก
ปลูกได้ตลอดปี ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือ เดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
การเตรียมดิน
หอมแดงมีระบบรากตื้น ชอบดินร่วน มีการระบายน้ำดี แปลงปลูกควรไถพรวน หรือขุดด้วยจอบพลิกดินตากแดดไว้ก่อน 2-3 วัน แล้วย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก อย่าให้ละเอียดมาก เพราะจะทำให้ดินแน่น หอมลงหัวยากควรใส่ปุ๋ยคอก , ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยมูลสัตว์ลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว เก็บเศษวัชพืช หรือรากหญ้าอื่น ๆ ออกให้หมดแล้วรองพื้นก่อนปลูกด้วยปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15 ในปริมาณ 20-50 กิโลกรัม/ไร่
การเตรียมพันธุ์หอม
หัวหอมพันธุ์ที่จะใช้ปลูก ควรเตรียมไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน เพราะหัวหอมที่จะใช้ปลูกควรมีระยะพักตัวอยู่สักระยะหนึ่ง แต่ไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 6 เดือน เพราะระยะนี้หอมจะเริ่มแดงยอดอ่อนสีเขียวพ้นหัวเก่ามาแล้ว ให้นำหัวหอมพันธุ์มาตัดแต่งทำความสะอาด ตัดเล็มรากเก่า และใบแห้งทิ้งให้หมด หากเห็นว่ายอดอ่อนยาว อาจตัดทิ้งเสียสัก 1 ใน 10 เพื่อเร่งให้งอกไวเมื่อปลูกแล้ว ในพื้นที่ปลูก 1 ไร่จะใช้หัวหอมพันธุ์ประมาณ 200 กิโลกรัม ก่อนปลูกหากเห็นว่าหัวหอมพันธุ์เป็นโรคราดำ หรือมีเน่าปะปนมา ต้องฉีดพ่นหรือจุ่มน้ำสารละลายป้องกันกำจัดเชื้อราจำพวกมาเนบ หรือซีเนบ ตามอัตราที่กำหนดในฉลาก และผึ่งลมให้แห้งก่อนนำไปปลูก
ระยะปลูก
นิยมปลูกเป็นแปลงขนาดกว้าง 1-1.5 เมตร ความยาวของแปลง เป็นไปตามความสะดวกในการปฎิบัติงานควรปลูกเป็นแถว ระยะปลูก 15-20 ซม. หรือ 20-20 ซม.
การปลูก
ก่อนปลูกควรรดน้ำแปลงปลูกให้ดินชุ่มชื้นไว้ล่วงหน้า นำหัวหอมพันธุ์มาปลูกลงในแปลง โดยเอาส่วนโคนหรือที่เคยเป็นที่ออกรากเก่าจิ้มลงไปในดินประมาณครึ่งหัว ระวังอย่ากดแรงนักจะทำให้ลำต้นหรือหัวชอกช้ำจะทำให้ไม่งอก หรืองอกรากช้า เมื่อปลูกทั่วทั้งแปลงให้คลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งหรือแกลบหนาพอสมควรเป็นการรักษาความชุ่มชื้นและคุมวัชพืช จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ๆ ต้นหอมจะงอกออกมาภายใน 7-10 วัน หากหัวใดไม่ลอกให้ทำการปลูกซ่อมทันที
การดูแลรักษา
การให้น้ำ หอมแดงต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอในระยะเจริญเติบโตและแตกกอ หากปลูกในที่ ๆ มีอากาศแห้งและลมแรง อาจต้องคอยให้น้ำบ่อย ๆ เช่น ภาคอีสาน ช่วงอากาศแห้งมาก ๆ ระยะแรกอาจให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ในภาคเหนือ เกษตรกรจะให้น้ำประมาณ 3-7 วันต่อครั้ง
การให้ปุ๋ย
- เมื่ออายุ 14 วัน หลังจากปลูก ควรใส่ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 20-25 กิโลกรัม/ไร่
- เมื่ออายุ 35-40 วัน ให้ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 20-50 กิโลกรัม/ไร่
การใส่ปุ๋ยใช้วิธีโรยห่าง ๆ ต้นห่างจากต้นราว 7 ซม. หรือใช้วิธีโรยให้ทั่วแปลงก็ได้ หลังจากให้ปุ๋ยให้เอาน้ำรดหรือเอาน้ำเข้าแปลงให้ชุ่ม
การกำจัดวัชพืช
ควรกำจัดวัชพืชบ่อย ๆ เมื่อวัชพืชยังเล็ก หากโตแล้วจะทำการกำจัดยากและจะกระทบกระเทือนรากหอมแดงได้มาก ปัจจุบันนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชมากขึ้นเพราะประหยัดแรงงานกว่า ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้กำจัดวัชพืชในแปลงหอมแดง ได้แก่ อลาคลอร์ อัตราการใช้ให้ใช้ตามที่ระบุในฉลากยา
โรคแมลง
โรคที่สำคัญของหอมแดง ได้แก่ โรคเน่าเละ , โรคใบจุดสีม่วง , โรคราน้ำค้าง และ โรคแอนแทรคโนส
แมลงศัตรูหอมแดงที่สำคัญ ได้แก่ หนอนกระทู้หอมและเพลี้ยไฟ
ควรฉีดยาฆ่าแมลงและยากันรา ที่ราคาไม่แพงนักทุก 7 วัน เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า หอมแดงที่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดีจะงอกงามและให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ
การเก็บเกี่ยว
โดยปกติหอมแดงที่ปลูกในฤดูหนาว จะแก่จัดเมื่ออายุ 70-110 วัน ถ้าปลูกในฤดูฝนจะสามารถเก็บได้ เมื่ออายุประมาณ 45 วัน แต่ผลผลิตของหอมแดงทั้ง 2 ฤดูแตกต่างกัน คือในฤดูหนาวจะให้ผลผลิตมากเป็น 2-3 เท่าของในฤดูฝน จึงเป็นเหตุให้ หอมแดงในฤดูฝนมีราคาสูงกว่า
หอมแดงที่เริ่มแก่แล้วจะสามารถสังเกตได้จากสีของใบจะเขียวจางลง ปลายใบเริ่มเหลืองและใบมักจะถ่างออก เอนล้มลงมากขึ้น ถ้าบีบส่วนคอ คือบริเวณโคนใบต่อกับหัวหอม จะอ่อนนิ่ม ไม่แน่นแข็ง แสดงว่าหอมแก่แล้ว
หลังจากเก็บเกี่ยว มีการปฎิบัติคล้ายกระเทียม คือหอมแดงที่ถอนแล้ว ต้องนำมาผึ่งลมในที่ร่มให้ใบเหี่ยวแห้งจากนั้นก็มัดเป็นจุก คัดขนาด และทำความสะอาด คัดพันธุ์แล้วนำไปแขวนไว้ในที่ร่ม เช่นใต้ถุนบ้าน ให้มีลมโกรก เพื่อระบายความชื้นจากหัวและใบหอม ไม่ให้ถูกแดด ฝนหรือน้ำค้าง หอมแดง หากเก็บไว้ในอากาศอบอ้าวจะเกิดโรคราสีดำ และเน่าเสียหายเช่นเดียวกับกระเทียม
การเก็บหอมแดงไว้ทำพันธุ์
หอมแดงที่แก่จัดหากเก็บรักษาไว้ดีจะฝ่อแห้งเสียหาย เพียง 35-40% ควรคัดเลือกหอมแดงที่จะใช้ทำพันธุ์ แยกออกมาต่างหากจากส่วนที่จะขาย และฉีดพ่นยากันรา เช่น เบนเลท ให้ทั่ว และนำไปผึ่งลมจนแห้งสนิทจึงนำเก็บรักษาไว้ทำพันธุ์ (ไม่ควรนำมารับประทาน) จะช่วยป้องกันไม่ให้หอมแดงเน่าเสียหายง่าย.

การปลูกกะหล่ำดอก


กะหล่ำดอก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Brassica oleracea กะหล่ำดอก มีถิ่นกำเนิดแถบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นผักประเภทอายุปีเดียวและอายุสองปี แต่ส่วนใหญ่ปลูกเป็นผักอายุปีเดียว ลำต้นสูงประมาณ 40-55 เซนติเมตร ขนาดดอกหนักประมาณ 0.5-1.20 กิโลกรัม เส้นผ่า ศูนย์กลาง ประมาณ 10-20 เซนติเมตร มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60-90 วัน
กะหล่ำดอก เป็นพืชผักที่ใช้บริโภคส่วนของดอกที่อยู่บริเวณปลายยอดของลำต้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวถึงเหลืองอ่อน อัดตัว กันแน่น อวบและกรอบ ซึ่งนิยมเรียกส่วนดังกล่าวว่า ดอกกะหล่ำ ถ้าหากปล่อยให้เจริญเติบโตพัฒนาต่อไป ก็จะเป็นช่อดอก และ ติดเมล็ดได้
กะหล่ำดอก เป็นผักอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมนำมาประกอบอาหารของคนทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารระดับภัตตาคาร ระดับโรงแรม หรือในร้านข้าวแกง รวมไปถึงตามครัวใหญ่ครัวเล็กของบ้านต่างๆ เหตุที่กะหล่ำดอกได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมากเนื่องจาก มีรสชาติ อร่อย กรอบหวาน มีสีดอกเหลืองอ่อนน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง ทั้งผัด แกง ใส่ก๋วยเตี๋ยวหรืออื่นๆ อีกมากมาย กะหล่ำดอกเป็นผักที่ขายได้ราคาดี ไม่ค่อยเสียหายระหว่างขนส่ง เก็บไว้ได้นานกว่าผักอื่นหลายชนิด เพราะลำต้นมีความแข็งแรง เนื้อแน่น และไม่อวบน้ำ
พันธุ์ของกะหล่ำดอก

สามารถแบ่งตามอายุการเก็บเกี่ยวได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1. พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นคือ ประมาณ 60-75 วัน ได้แก่ พันธุ์เออลี่ สโนว์บอลล์ (Early snowball) มีอายุการ เก็บเกี่ยว ประมาณ 60-75 วัน พันธุ์ Burpeeana มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 58-60 วัน และพันธุ์ Snow drift มีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 63-78 วัน
2. พันธุ์กลาง เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวปานกลางคือ ประมาณ 80-90 วัน ได้แก่ พันธุ์ Snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน และพันธุ์ Halland erfurt improve มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 85 วัน และพันธุ์ Cauliflower main crop snow fall มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วัน
3. พันธุ์หนัก เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานประมาณ 90-150 วัน ได้แก่ พันธุ์ Winter มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน และพันธุ์ Putna มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 150 วัน

นอกจากกลุ่มพันธุ์ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอย่างมาก โดยเฉพาะในอเมริกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน และยุโรป บางประเทศได้แก่
1. พันธุ์ไวท์ คอนเทสซ่า ไฮบริด (White contessa hybrid, Sakata) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 500 กรัม เนื้อแน่น ใบมีสีเขียวเข้มและเรียบ เป็นพันธุ์ที่ทนต่อความแห้งแล้งและอากาศร้อนได้ดี
2. พันธุ์ฟาร์มเมอร์ เออลี่ ไฮบริด (Farmer early hybrid, Know-you) เป็นกะหล่ำดอกพันธุ์เบา มีดอกสีขาว หนักประมาณ 1 1/2 กิโลกรัม ให้ผลผลิตสูง คุณภาพดีสม่ำเสมอ
3. พันธุ์สโนว์บอลล์ เอ (Snow ball A, Takii) เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว แน่นและแข็ง มีใบนอกหุ้มดอกไว้ พันธุ์สโนว์ พีค (Snow peak, Takii) เป็นพันธุ์ที่ปรับปรุงขึ้นสำหรับปลูกในประเทศเขตร้อนโดยเฉพาะ เป็นพันธุ์เบา มีดอกสีขาว คุณภาพดีแน่น และดอกค่อน ข้างกลม
5. พันธุ์ซุปเปอร์ สโนว์บอลล์ (Super snow ball) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นกว่าพันธุ์อื่นๆ ในกลุ่มพันธุ์ Snow ball ด้วยกัน
6. พันธุ์สโนว์ คิง ไฮบริด (Snow king hybrid) เป็นพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50 วัน
นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ที่มีดอกสีม่วง ได้แก่ พันธุ์ Royal purple และพันธุ์ Purple head ซึ่งมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 80-85 วัน
สภาพดินฟ้าอากาศที่เหมาะสม

กะหล่ำดอก สามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วน แต่จะเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วน เหนียว และควรเป็นดินที่มีการอุ้มน้ำและอินทรีย์วัตถุได้ดี ตลอดจนการระบายน้ำและอากาศดีไม่ทนต่อสภาพดินเป็นกรดจัด ลักษณะ ของดินในการปลูกจะมีผลต่อคุณภาพของดอกอย่างมาก การปลูกกะหล่ำดอกในดินร่วนโปร่ง โอกาสที่จะได้รับผลกระทบจาก อากาศ ร้อน และแห้งแล้งมีมากกว่า ดังนั้นจะได้ดอกที่หลวมคุณภาพต่ำ ส่วนการปลูกกะหล่ำในดินเหนียวแม้ว่าจะเจริญเติบโตช้าในระยะแรก แต่การเจริญทางใบก็เพียงพอที่จะทำให้ได้ดอกกะหล่ำเกาะตัวเป็นก้อนแน่นคุณภาพสูงกว่า ดินที่เหมาะสมในการปลูกควรมีความ เป็น กรดเป็นด่าง ระหว่าง 6-6.8 และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ด้วย
แต่เดิมนั้นการปลูกกะหล่ำดอก ต้องปลูกในฤดูหนาว ยิ่งหนาวมากยิ่งดี แต่ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าจนได้กะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ ที่ สามารถปลูกได้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝน เพียงแต่ให้เป็นที่ที่อากาศในเวลากลางคืนเย็นพอสมควร แต่ถ้าปลูกในฤดูหนาวจะดีกว่า ความ ต้องการอุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกอยู่ระหว่าง 15.5-18.3 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามหากปลูกกะหล่ำดอกในที่มีอุณหภูมิต่ำ เกินไปจะทำให้ดอกกะหล่ำโตช้า และยืดอายุการเก็บเกี่ยวออกไป
การเพาะกล้ากะกล่ำดอก

การเตรียมแปลงเพาะกล้า ให้ไถดินให้ลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลาย ตัวดี แล้ว ให้มากคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยชั้นผิวดินให้ละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดตกลึกลงไปในร่องดิน ทำให้ไม่งอกหรือ งอกยาก
หลังจากเตรียมแปลงเพาะเรียบร้อยแล้ว จึงทำการหว่านเมล็ดให้กระจายทั่วพื้นผิวแปลงเพาะอย่างสม่ำเสมอ ระวังอย่าหว่านกล้าให้แน่น เกิน ไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่าคอดินได้ หลังจากหว่านเมล็ดแล้วให้หว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดิน ผสม ละเอียด หนาประมาณ 0.6-1 เซนติเมตร หรือทำร่องเป็นแถวลึกประมาณ 1 1/2 – 2 เซนติเมตร หลังโรยเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แต่ละ แถว ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมละเอียดเช่นกัน หลักจากหว่านเมล็ด เรียบร้อยแล้วคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้งสะอาดบางๆ รดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อต้นกล้างอกเริ่มมีใบจริง ควรถอนแยกต้นที่อ่อนแอ ต้นไม่สมบูรณ์และขึ้นเบียดเสียดกันแน่นเกินไปออก ให้มีระยะห่างระหว่างต้น ประมาณ 5-8 เซนติเมตร ช่วงนี้ควรให้ปุ๋ยพวกสารละลายสตาร์ทเตอร์โซลูชั่นแก่ต้นกล้า และหมั่นตรวจดูแลป้องกันโรคแมลงที่เกิด จนกระทั่วเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 30-40 วันจึงทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูกต่อไป
การเตรียมดินปลูกกะหล่ำดอก

กะหล่ำดอก เป็นผักที่มีระบบรากตื้น การเตรียมดินเพียงขุดดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 5-7 วัน เก็บ เศษหญ้า เศษวัชพืชออกให้หมด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วคลุกเคล้าลงไปในดิน พรวนย่อยหน้าดินให้มีขนาดเล็ก แต่ไม่ควรละเอียดเกินไป ถ้าดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม ยกเป็น แปลงๆ พร้อมที่จะนำต้นกล้าลงปลูก
การปลูกกะหล่ำดอก

เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ อายุได้ประมาณ 30-40 วัน ต้นสูงประมาณ 10-12 เซนติเมตร จึงทำการย้ายกล้าปลูกลงแปลง ไม่ควร ปล่อยให้ต้นกล้ามีอายุแก่เกินไป จะทำให้รากเกิดการกระทบกระเทือนได้ง่ายขณะทำการย้าย มีผลให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ก่อนย้ายต้นกล้าให้รดน้ำบนแปลเพาะกล้าให้ชุ่มแต่ไม่แฉะ ควรเลือกย้ายกล้าในวันที่แสงแดดไม่จัด และย้ายในเวลาเย็นหรือช่วง อากาศมืดครึ้ม เพื่อหลีกเลี่ยนการคายน้ำมากเกินไปของต้นกล้า ซึ่งจะทำให้กล้าเหี่ยวตายได้
การปลูก โดยใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร โดยปลูกเป็นหลุมบนแปลง หลังจากปลูกควรกลบ ดินกดบริเวณโคนต้นให้แน่น จากนั้นใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมโคนต้น เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดิน รดน้ำให้ชุ่ม ส่วนในพื้นที่ที่มี แสงแดด จัดควรหาที่ปังแดดให้ ซึ่งอาจใช้ทางมะพร้าวคลุมไว้ประมาณ 3-5 วัน จึงเอาทางมะพร้าวออก
การปฏิบัติดูแลรักษากะหล่ำดอก

การให้น้ำ ในช่วงแรกหลังจากย้ายปลูกไม่ต้องให้น้ำมากนัก เพียงให้ดินมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างเพียงพอก็พอ สังเกตดูว่าดินแฉะ เกิน ไปหรือไม่ ถ้าดินแฉะเกินไปก็ลดปริมาณน้ำที่ให้แต่ละครั้งให้น้อยลง เพราะถ้าแฉะเกินไปจะทำให้ต้นกะหล่ำดอกเกิดโรคเน่าเละ ได้ง่าย เมื่อกะหล่ำดอกโตขึ้นก็ให้น้ำมากขึ้นเพราะการระเหยน้ำเกิดเร็วขึ้น ควรให้อย่างสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เวลาเช้าและเย็น อย่า ปล่อยให้กะหล่ำดอกขาดน้ำ เพราะจะทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและกระทบกระเทือนต่อการสร้างดอก ทำให้คุณภาพและปริมาณ ดอกลดลง ในฤดูแล้งควรมีการคลุมดินด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง จะช่วยให้รักษาความชื้นในดินไว้ได้ดี
การใส่ปุ๋ย ปุ๋ยไนโตรเจนนับว่ามีบทบาทต่อการเจริญเติบโตของกะหล่ำดอกมาก ดังนั้นในระยะแรกควรมีการให้ปุ๋ยไนโตเจน ในรูปของ แอมโมเนียม ซัลเฟตหรือยูเรีย จากนั้นจึงใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 15-15-15 ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความอุดมสมบูรณ์ ของดิน โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อกะหล่ำดอกอายุประมาณ 30-40 วันหลังย้ายปลูก โดยโรยใส่ข้างต้นแล้วพรวนดินกลบลงในดิน
การพรวนดิน ควรทำในระยะแรกขณะที่วัชพืชยังเล็กอยู่พร้อมกับการกำจัดวัชพืชพร้อมกันไปด้วย
การคลุมดอก เมื่อดอกกะหล่ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร หรือดอกโตจวนจะได้ขนาดแล้วควรมีการคลุมดอก โดย รวบใบบริเวณปลายยอดเข้าหากันอย่างหลวมๆ ระวังอย่าให้แน่นเกินไป แล้วใช้ยางรัดของมัดไว้ จะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีขาวนวล น่ารับประทาน มีคุณภาพดีเหตุที่ต้องมีการคลุมดอกก็เพื่อป้องกันแสงแดดส่องถูกผิวของดอกกะหล่ำ ซึ่งจะทำให้ดอกกะหล่ำมีสีเหลือง อันเนื่องมาจากรังสีอุลตร้าไวโอเลต ซึ่งลักษณะดอกกะหล่ำที่มีสีเหลืองตลาดมักจะไม่ต้องการ ปกติแล้วหลังจากคลุมดอกจะสามารถ เก็บเกี่ยว ได้ในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์หรือมากกว่า แต่ถ้าในฤดูร้อนจะเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น ในปัจจุบันกะหล่ำดอกพันธุ์ใหม่ๆ จะมีใบ คลุมดอกได้เองโดยธรรมชาติ ไม่จำเป็นต้องคลุมดอกให้
การเก็บเกี่ยวกะหล่ำดอก

สังเกตได้จาก ขนาดของดอกที่มีขนาดโตเต็มที่ และเป็นก้อนแน่นก่อนการยืดตัวไปเป็นช่อดอก ทั้งนี้อาจจะนับจากจำนวนวันที่ดอกเริ่ม เจริญพอสังเกตเห็นได้ต่อไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นก็เก็บเกี่ยวได้หากอากาศไม่หนาวเกินไป นอกจากนั้นอาจสังเกตได้จาก อายุการเก็บเกี่ยว โดยพันธุ์เบาจะมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 60 วันหลังจากย้ายกล้า และพันธุ์หนักมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 90 วันหลังจากการย้ายกล้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดตัดดอกกะหล่ำ ให้มีส่วนของใบบริเวณใกล้ดอกติดมา ด้วย 2-3 ใบ เพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการขนส่ง ควรเลือกตัดดอกที่ยังอ่อนแต่โตเต็มที่แล้วคือ สังเกตจากดอกกำลังมี สีครีม และหน้าดอกเรียบ
โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญของกะหล่ำดอก

โรครากปมของกะหล่ำ สาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอยชนิด Meloidegyne sp. ลักษณะอาการ ของโรคนี้ต้นกะหล่ำดอกจะแคระแกร็นไม่ค่อยเจริญเติบโต เมื่อขุดรากขึ้นมาตรวจดูจะพบว่าบริเวณรากแขนงและ รากฝอยมีลักษณะ บวม เป็นปมขนาดต่างๆ ทำให้รากไม่สามารถหาอาหารได้ตามปกติ นอกจากนี้ไส้เดือนฝอยตัวเมียที่เข้าไปอยู่ในปมจะไปแย่งอาหาร จากพืชด้วยทำให้ลำต้นแคระแกร็นชะงักการเจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด ควรไถตากดินให้ลึก ใส่พวกปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักหรือกากพืชให้มาก และเมื่อพบไส้เดือนฝอยชนิดนี้ระบาดควรเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นสัก 1-2 ปี เช่น ข้าวโพด เป็นต้น
โรคเน่าดำ เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Xanthomonas campestris ลักษณะอาการจะเกิดขึ้นที่ใบ โดยใบจะมีสีเหลือง และแห้ง หลังจากนั้นจะปรากฏสีดำบนเส้นใบ มักพบในระยะกะหล่ำกำลังเจริญเติบโต ทำให้กะหล่ำดอกชะงักการเจริญเติบโต แคะแกร็น หากทำการผ่าตามขวางของลำต้นจะพบวงสีน้ำตาลดำบนเนื้อเยื่อของพืชและต้นอาจตายได้
การป้องกันกำจัด ใช้เมล็ดที่ปลอดโรคโดยนำเมล็ดมาแช่น้ำอุ่นก่อนปลูก เพื่อฆ่าเชื้อดังกล่าว และควรปลูกพืชหมุนเวียนสลับบ้าง หากเกิดโรคนี้บนแปลงควรงดการปลูกพืชตระกูลกะหล่ำอย่างน้อย 3 ปี
โรคเน่าเละของกะหล่ำดอก สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia carotovara อาการในระยะแรกจะพบเป็นจุดช้ำหรือฉ่ำน้ำ ที่บริเวณดอก ต่อมาจุดเหล่านี้ขยายออก เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลถึงดำ เนื้อเยื่อบริเวณแผลมีลักษณะเป็นเมือกเยิ้มมีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็น มากๆ ทำให้ดอกเกิดอาการเน่าเละเป็นสีน้ำตาลดำไปทั้งดอก และโรคนี้จะแพร่ไปยังต้นที่อยู่ใกล้เคียงโดยมีแมลงวันเป็นพาหนะ
การป้องกันกำจัด ระมัดระวังอย่าให้เกิดแผลบนดอกกะหล่ำ กำจัดแมลงที่กัดกินดอกกะหล่ำ และเมื่อพบดอกกะหล่ำที่แสดง อาการให้ตัด ไปเผาทำลาย
หนอนใยผัก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plutella xylostella เป็นหนอนที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาหนอนผีเสื้อศัตรูผัก ชอบวางไข่ตาม ใต้ใบเป็นฟองเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่มติดกัน 2-5 ฟอง ไข่มีขนาดเล็กมากค่อนข้างแบนและยาวรี ไข่มีสีเหลืองอ่อนเป็นมัน มีผิวขรุขระ ระยะการเป็นไข่ 2-3 วัน เมื่อไข่ใกล้ฟักออกเป็นตัวหนอนจะมีสีเหลืองเข้ม ตัวหนอนมีขนาดค่อนข้างเล็กมองเห็นยาก มีการเจริญ เติบโตรวดเร็วกว่า หนอนอื่น เพียงแค่ 1 สัปดาห์ ก็จะโตเต็มที่มีขนาด 1 เซนติเมตร ส่วนท้ายมีปุ่มยื่นออกมา 2 แฉก ลำตัวอาจเป็น สีเขียว ปนเทาอ่อน หรือเขียวปนเหลือง เมื่อถูกตัวจะดิ้นอย่างแรง สามารถสร้างใยพาตัวเองขึ้นลงระหว่างพื้นดินกับต้นพืช ดักแด้ มี ขนาด 1 เซนติเมตร อยู่ภายในใยบางๆ ติดใต้ใบ อายุดักแด้ 3-4 วัน ส่วนตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน มีสีเทา หลังมีแถบ สีเหลือง เข้ม มีอายุอยู่ได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์
ลักษณะการทำลาย ตัวหนอนจะกัดกินผิวด้านล่างใบจนเกิดเป็นรูพรุนและมักเข้าไปกัดกินในยอดผักที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ผัก ได้รับความเสียหายสามารถทำลายผักในตระกูลกะหล่ำเกือบทุกชนิด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก และผักกาดต่างๆ
การป้องกันกำจัด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอนโดยตรง การใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัสทรูรินเจนซิสทำลาย และหมั่นตรวจดูแปลงกะหล่ำดอกอยู่เสมอ เมื่อพบตัวหนอนควรรีบทำลายทันที
หนอนเจาะยอดกะหล่ำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hellula undalis ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก แม่ผีเสื้อจะวางไข่เดี่ยวๆ หรือ เป็นกลุ่มตามยอดอ่อนหรือใบอ่อน บางครั้งวางไข่บนดอกที่ยังตูมอยู่ ไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมเรียวยาวเล็กน้อย ไข่ระยะแรกมีสีขาว ซีด ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวลขนาดของไข่ประมาณ 0.34-0.55 มิลลิเมตร เมื่อไข่อายุ 2 วันจะมีสีชมพูเกิดขึ้นบนไข่ เมื่ออายุ มากขึ้นไข่จะเริ่มมีสีดำ และเริ่มออกเป็นตัวภายในระยะเวลา 3-5 วัน แม่ผีเสื้อตัวหนึ่งสามารถวางไข่ได้ประมาณ 14-255 ฟอง ตัวหนอนเมื่อโตเต็มที่ยาว 1-2 เซนติเมตร ผิวดำตัวใส มีแถบสีน้ำตาลพาดตามยาว ระยะการเจริญเติบโตของหนอนประมาณ 15-23 วัน จึงเข้าระยะดักแด้โดยสร้างใยหุ้มลำตัวติดกับเศษพืชที่ผิวดินหรือใต้ผิวดิน ดักแด้มีขนาดยาว 0.6-0.8 เซนติเมตร เข้าดักแด้ใหม่ๆ จะมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาจะมีสีเข้มขึ้นระยะการเป็นดักแด้ประมาณ 7-11 วัน สำหรับตัวเต็มวัยลำตัวยาวประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลปนเทาพาดตามขวางโค้งไปมา ปีกคู่หลังมีสีน้ำตาลอ่อนปนเทา ตัวเต็มวัยมีอายุอยู่ได้ 7-10 วัน
ลักษณะการทำลาย หนอนเจาะยอดกะหล่ำจะทำความเสียหายให้กับผักตระกูลกะหล่ำ โดยตัวหนอนจะเจาะเข้าทำลายดอก ทำให้ยอด ชะงักการเจริญเติบโต หนอนจะเจาะก้านดอกกัดกินดอกอ่อน ตาอ่อน หรือเจาะเข้าไปทำลายในผัก หนอนที่ออกจากไข่ใหม่ๆ อาจเจาะ เข้าไปทำลาย ผักใต้ผิวใบหรืออาจเจาะเข้าไปในส่วนของตาดอก บางครั้งจะเจาะเข้าไปในส่วนของตาดอก บางครั้งจะเจาะเข้าไปกิน ภาย ในส่วนของลำต้น เห็นรอยกัดกินเป็นทาง เราอาจพบมูลตามลำต้นและใบ โดยหนอนจะกัดใบคลุมตัวเองและจะกัดกินอยู่ภายใน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีเมวินฟอส อัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อหนอนระบาด ควรพ่นทุกๆ 5 วัน หรืออาจใช้เมตา ไมโดฟอส ในอัตรา 20-30 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร